การคำนวณขนาดพัดลม

ขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้งเป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกพัดลม โดยในสถานที่อับอากาศแต่ละแห่งจะมีความต้องการความเร็วลมที่ต่างกัน  การคำนวณแรงลมสามารถทำได้ตามหลักการดังนี้

–       ขนาดพื้นที่เท่าไหร่(เป็นลูกบาศก์ฟุต)

–       จำนวนครั้งในการเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมง air changes per hour (ACH) — ในการหา ACH พนักงานจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง โดยคำนึงถึงปริมาตรและความรุนแรงของสิ่งปนเปื้อน หรือกำหนดโดยกฏหมายในพื้นที่นั้นๆหรือระเบียบของโรงงาน

เมื่อรู้ตัวเลขทั้งสองนี้แล้ว ให้เอาตัวเลขทั้งสองมาคูณกันเพื่อค่าแรงลม(CFM)ที่ต้องการ

ยกตัวอย่าง เช่น  กฎระเบียบในพื้นที่ กำหนดว่าการเปลี่ยนอากาศต้องมีอย่างน้อย 6 ครั้งต่อชั่วโมง (6 ACH) ถ้าพื้นที่อับอากาศมีปริมาตร 10,000ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้น ต้องการลมขนาด 60,000 ลูกบาศก์ฟุต แล้วหารด้วยจำนวนนาทีใน 1 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 60 ดังนั้นแรงลมขั้นต่ำที่ต้องการจะเท่ากับ 1,000 CFM (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)

ในขณะที่ขนาดพื้นที่มีผลต่อขนาดของพัดลม บริเวณที่ติดตั้งพัดลมจะมีผลต่อทั้งขนาดพัดลมและท่อลม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ซึ่งความยาวของท่อจะส่งผลต่อขนาดพัดลมได้ เนื่องจากว่ายิ่งความยาวท่อยาวก็ความแรงดันของลมก็จะยิ่งลดลง เนื่องจากจะมีการสูญเสียแรงเนื่องจากแรงเสียดทานของพื้นผิวภายในท่อ ดังนั้นหากมีการใช้ท่อที่ยาวมากก็ควรจะเลือกขนาดพัดลมที่มีแรงดันอากาศมากกว่าปกติ

พัดลมแบบดูดแนวแกนหมุน

พัดลมชนิดนี้จะดูดอากาศโดยใช้ใบพัดแบบวงล้อ โดยทั่วไปพัดลมประเภทนี้จะทำให้อากาศเคลื่อนตัวช้ากว่าแบบแนวตรง แต่มีความดันอากาศที่สูงกว่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้คู่กับท่ออากาศ

อุปกรณ์เร่งความดันอากาศ (Flow Amplifier)

อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่เหนี่ยวนำอากาศให้เคลื่อนไหวไปในแนวของอุปกรณ์เพื่อเพิ่มแรงลม โดยอุปกรณ์นี้จะทำงานโดยเพียงแค่ใช้ท่ออากาศที่มาจากเครื่องอัดอากาศไหลสู่อุปกรณ์ในส่วนฐานของอุปกรณ์ อุปกรณ์จะทำหน้าที่ควบคุมลมเคลื่อนที่ออกมาผ่านช่องลมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความแรงอากาศ อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ เนื่องจากไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวในอุปกรณ์ โดยการใช้งานควรมีการยึดกับพื้นและมีเชื่อมต่อที่มั่นคง เพื่อป้องกันการเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์