ลักษณะเรือนเพาะชำพลาสติกและวัสดุสำหรับใช้มุงหลังคาเรือนเพาะชำ(แสลนกรองแสง)

23

เรือนเพาะชำ คือ สถานที่ที่ใช้เพื่อดูแลรักษาบรรดาเหล่าต้นกล้าต้นอ่อน กิ่งตอนกิ่งชำ ของพวกไม้ผลและไม้ยืนต้น รวมทั้งไม้พุ่มและไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ ที่จะต้องปลูกเพาะขยายพันธุ์และต้องมีการดูแลรักษาเป็นพิเศษในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีการผันแปรของแสงแดด อุณหภูมิ ลม และปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ และนอกจากนี้เรือนเพาะชำยังมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชอีกหลายประการ

เรือนเพาะชำพลาสติก (Plastichouse) เป็นโรงเรือนที่ใช้วัสดุพลาสติก polyethylene ทำหลังคา สำหรับป้องกันฝนและเพิ่มอุณหภูมิภายในได้บ้าง มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นในการผลิตสินค้าทางเกษตรมากกว่าโรงกระจกถึง 3 เท่า โรงเรือนแบบนี้ใช้โครงสร้างน้ำหนักเบาแล้วคลุมด้วยพลาสติก จึงทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อย สำหรับในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงต้องมีการระบายอากาศภายในโรงเรือน จึงจะช่วยลดอุณหภูมิภายในให้ต่ำลงได้ วัสดุที่ใช้ทำหลังคาสามารถใช้วัสดุต่างๆ ได้ เช่น โพลีคาร์บอเนต หรือ ไฟเบอร์กลาส  และยังมี ลักษณะเรือนเพาะชำแบบต่างๆ อีกมากมาย

วัสดุสำหรับใช้มุงหลังคาเรือนเพาะชำ ก็คือ แสลนกรองแสง

แสลนกรองแสงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำเรือนเพาะชำ เพราะช่วยกันแดด กันฝน ให้กับพืชพรรณได้”

การใช้ ตาข่ายกรองแสง หรือ แสลนกรองแสง ที่มีความสามารถในการกรองแสง ใช้มุงหลังคาโรงเรือนในปัจจุบัน ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ แล้ว เช่น ผลิตจากวัสดุสารสังเคราะห์โพลีเอทธีลีนที่ความหนาแน่นสูง มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ผสมหรือเคลือบด้วยสารดูดกลืนรังสีอินฟาเรท โดยดูดกลืนรังสีในเวลากลางวัน เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนในเวลากลางวันสูงเกินไป และดูดกลืนรังสีในเวลากลางคืน เพื่อเก็บความร้อนไว้ภายในโรงเรือนในเวลากลางคืน